วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ตัวชี้วัด

หน่วยการเรียนรู้ที่1
หลักการทำงานและการเลือกใช้คอมพิวเตอร์

 ตัวชี้วัด
  * อธิบายองค์ประกอบและหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ (ง 3.1 ม. 4-6/2)
  * บอกคุณลักษณะของคอมพิวเตอร์และอุปรณ์ต่อพ่วง (ง 3.1 ม. 4-6/4)
  * ใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับงาน (ง 3.1 ม.4-6/8)

สาระการเรียนรู้แกนกลาง
  * การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย5หนัวยสำคัญได้แก่ หน่วยรับเข้า หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำหลัก หน่วยความจำรองและหน่วยส่งออก 
     - หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยหน่วยควบคุม และหน่วยคำนวนตรรกะ
     - การรับส่งข้อมูลระหว่างหน่วยต่างๆ จะผ่าระบบขนส่งข้อมูลหรือบัส 
  * คุณลักษณะ ของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงเช่นความเร็วเเละความจุของฮาร์ดดิส  
  * การเลือกคุณลักษณะของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับงาน เชื่อคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในสื่อผสม ควรเป็ฯเครื่องมือที่มีสมรรถนะสูง และใช้ซอฟต์แวร์ที่เหมาะสม 

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ชนิดของการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์

การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้ แบ่งออกได้เป็น ๓ กลุ่ม คือ

    ๑.กลุ่มที่เลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์แบบมียี่ห้อ หรือเรียกว่าเครื่องแบรนด์เนม(brand name) ทั้งแบรนด์เนมของไทยและของต่างประเทศ เช่น Laser , Powell , IBM , Acer , Atec เป็นต้น
    ๒.กลุ่มที่เลือกซื้อเครื่องสั่งประกอบตามร้านคอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ในศูนย์การค้า เช่น ที่พันธ์ทิพย์พลาซ่า เสรีเซ็นเตอร์ หรือจากร้านจำหน่ายคอมพิวเตอร์ทั่วไป เป็นต้น
    ๓.กลุ่มที่เลือกซื้ออุปกรณ์มาเป็นชิ้นๆ แล้วนำมาประกอบเองที่บ้าน


การเลือกซื้อในแต่ละกลุ่มมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป ดังนี้

1. มีคุณภาพได้มาตรฐาน
2.การบริการ/ดี
3.มีการรับประกันดี
4.ในบางที่จะมีการฝึกอบรมการใช้โปรแกรมสำหรับผู้ซื้อเครื่องด้วย
1.เครื่องมีราคาสูง
2.ไม่สามารถเลือกคุณลักษณะและยี่ห้อของอุปกรณ์ที่ต้องการได้
3.เวลาสั่งซื้อเครื่อง อาจต้องรอเครื่องเป็นเวลานานหลายวัน

เครื่องสั่งประกอบ
1.เลือกซื้ออุปกรณ์หรือปรับเปลี่ยนได้ตามต้องการ
2.มีคุณลักษณะและยี่ห้อตามต้องการ
3.ราคาถูก(ขึ้นอยู่กับทางร้าน)
4.การรับประกัน(ขึ้นอยู่กับทางร้าน)
1.ถ้ามีความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ไม่ดีพอ อาจจะได้ของที่ไม่มีคุณภาพ
2.เวลาเครื่องเสีย หรือมีปัญหาต้องยกเครื่องไปให้ช่างที่ร้านซ่อม
3.อาจได้สินค้าของปลอม

เครื่องประกอบเอง
1.เลือกซื้ออุปกรณ์หรือปรับเปลี่ยนได้ตามต้องการ
2.คุณลักษณะและยี่ห้อตามต้องการ
3.ไม่เสียค่าประกอบ
4.ราคาถูก(ขึ้นอยู่กับทางร้าน)
5.การรับประกัน(ขึ้นอยู่กับทางร้าน)
6.การบริการ(ขึ้นอยู่กับทางร้าน)
1.ผู้ใช้ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ทางด้านฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์เป็นอย่างดี เพราะต้องประกอบเครื่องและลงโปรแกรมเอง
2.ถ้ามีความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ไม่ดีพออาจจะได้ของที่ไม่มีคุณภาพ
3.เวลาเครื่องเสียหรือมีปัญหา ต้องยกเครื่องไปให้ช่างที่ร้านซ่อม
4.อาจได้สินค้าปลอม


การเลือกคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์นั้น ผู้ใช้ควรวางแผนและหาข้อมูลในการเลือกซื้อไว้ก่อนล่วงหน้า ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะประกอบเอง หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มียี่ห้อต่างๆ และควรพิจารณาถึงความต้องการที่จะนำไปใช้งานเป็นหลัก เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานนั้นสามารถเอื้ออำนวยในการทำงานของผู้ใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น ผู้ใช้งานเท่านั้นที่จะสามารถกำหนดขอบข่ายและคุณลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เหมาะสมที่สุด

หลักการเลือกคอมพิวเตอร์

      
 การสำรวจราคา

       เมื่อผู้ใช้กำหนดคุณลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ตรงตามความต้องการแล้ว ผู้ใช้สามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับราคาของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้จากร้านขายเครื่องคอมพิวเตอร์หรือศูนย์คอมพิวเตอร์ต่างๆ แล้วนำราคาแต่ละแหล่งมาเปรียบเทียบ เพื่อให้ราคาที่เหมาะสมและคุ้มค่ามากที่สุด รวมทั้งตรงกับคุณลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการอีกด้วย


   การสำรวจบริการหลังการขาย

        โดยดูระยะเวลารับประกันของอุปกรณ์ต่างๆ และการให้บริการหลังการขาย เช่น หากเครื่องคอมพิวเตอร์มีปัญหา ผู้ใช้สามารถติดต่อศูนย์บริการนี้ได้อย่างสะกวดและรวดเร็ว โดยต้องมีผู้ให้คำแนะนำและสามารถติดต่อได้ตลอดเวลา เพื่อแก้ปัญหาการใช้งานเบื้องต้นได้ รวมทั้งยังสามารถบริการไปซ่อมที่บ้าน (on-site maintenance) ของลูกค้าได้อีกด้วย

   การตรวจสภาพอุปกรณ์ก่อนอกจากร้าน

        เมื่อได้เครื่องคอมพิวเตอร์ตามที่ต้องการให้เหมาะสมกับประสิทธิภาพและการใช้งานเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่จะออกจากร้านก็ต้องตรวจสอบอุปกรณ์ทุกชิ้นว่าอยู่ในสภาพดี ไม่มีรอยขีดข่วนหรือมีตำหนิ มีใบเสร็จรับเงินและใบเสร็จรับประกันอย่างครบถ้วน หากมีปัญหาอะไรสามารถกลับมาที่ศูนย์บริการหรือศูนย์ซ่อมอุปกรณ์ต่างๆได้

องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์

     จากหลักการทำงานขั้นพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้มีการพัฒนาองค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ขึ้นมา องค์ประกอบดังกล่าว คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รองรับการทำงานแต่ละขั้นตอน ดังนั้นคอมพิวเตอร์จึงมีอุปกรณ์ที่สำคัญหลายอย่าง ซึ่งทำงานสัมพันธ์กันและมีกระบวนการทำงานเป็นขั้นตอนตามที่โปรแกรมกำหนดไว้ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ประเภทใด ยี่ห้อใด รุ่นใด ต่างก็มีหลักการทำงานในลักษณะเดียวกัน คอมพิวเตอร์จะทำงานได้อย่างเป็นระบบนั้น จะต้องอาศัยองค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ที่สำคัญ ดังนี้

     ๑)หน่วยรับข้อมูล (input unit) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการรับข้อมูลจากอุปกรณ์ต่างๆ ส่งเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อนำไปทำตามคำสั่งที่ต้องการ อุปกรณ์หน่วยรับเข้าที่มีปัจจุบัน เช่น เมาส์ แป้นพิมพ์ เครื่องสแกนเนอร์ อุปกรณ์จับภาพ อุปกรณ์รับเสียง เป็นต้น
     ๒)หน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit : CPU) ซีพียูเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์ ควบคุมการทำงานและประมวลผลข้อมูลที่ได้รับจากอุปกรณ์ต่างๆให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
      ๓)หน่วยความจำหลัก (main memory) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้จัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมคำสั่งต่างๆในขณะที่เครื่องคอมพิวเตอร์เปิดใช้งานอยู่เท่านั้น  หากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์จะทำให้ข้อมูลนั้นหายไป หน่วยความจำหลักทำงานควบคู่ไปกับหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วขึ้น ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท คือ หน่วยความจำแรม และ หน่วยความจำรอม
      ๔)หน่วยความจำรอง (secondary storage) เป็นอุปกรณ์สำหรับจัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์อย่างถาวร ผู้ใช้สามารถเรียกข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ในภายหลังได้ แม้จะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ข้อมูล แต่โปรแกรมที่เก็บไว้จะไม่สูญหาย อุปกรณ์หน่วยความจำรองที่มีในปัจจุบัน เช่น ฮาร์ดดิสก์ ออปติคัลดิสถ์ เป็นต้น
    ๕)หน่วยส่งออก (output unit) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แสดงผลข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลที่ผู้ใช้สามารถเข้าใจได้ง่าย เป็นทั้งภาพ เสียง สี แสง ตัวอักษร รูปภาพ อุปกรณ์หน่วยแสดงผลที่มีในปัจจุบัน เช่น จอภาพ ลำโพง เครื่องพิมพ์ เป็นต้น        
.๑ หน่วยรับเข้า   
         ข้อมูลเข้า (input) ประกอบด้วยข้อมูล (data) และคำสั่ง (program) โดยข้อมูลอาจอยู่ในรูปแบบของตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ซึ่งข้อมูลจะถูกนำเข้าเมื่อผู้ใช้เปิดโปรแกรม เช่น เมื่อผู้ใช้เปิดโปรแกรม Microsoft Office Word ผู้ใช้ต้องป้อนข้อมูลในรูปแบบของตัวอักษรและสัญลักษณ์ รวมทั้งรับคำสั่งเพื่อการจัดเก็บ (save) ข้อมูล เป็นต้น หน่วยรับเข้าจึงมีอุปกรณ์มากมายที่มีความสามารถในการรับข้อมูลเข้าที่มีรูปแบบแตกต่างกัน
         อุปกรณ์หน่วยรับเข้าที่นิยมใช้ในปัจจุบัน แบ่งออกได้เป็น ๗ กลุ่มดังนี้
       ๑)อุปกรณ์แบบกด (keyed device) เป็นอุปกรณ์ที่ประกอบไปด้วยปุ่มสำหรับกด เพื่อป้อนข้อมูลในรูปแบบตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์พิเศษเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์แบบกดที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ได้แก่ แป้นพิมพ์ ซึ่งแป้นพิมพ์ประกอบด้วยปุ่มสำหรับการพิมพ์อักขระ พิมพ์ตัวเลข การเรียกใช้ฟังก์ชันของซอฟต์แวร์ และการควบคุมการทำงานร่วมกับปุ่มอื่นๆ
        ปัจจุบันแป้นพิมพ์ที่วางจำหน่ายมีการพัฒนาระบบต่างๆ เพิ่มขึ้นมากมาย ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ ได้แก่ ระบบการเชื่อมต่อแบบมีสายและไร้สาย การออกแบบตัวแป้นและปุ่มควบคุมการใช้งานมัลติมีเดีย แป้นพิมพ์จึงมีหลากหลายชนิดสำหรับสนับสนุนการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนี้
       ๑.๑) แป้นพิมพ์ไร้สาย (cordless keyboard) แป้นพิมพ์ที่ออกแบบเพื่อส่งผ่านข้อมูลโดยเทคโนโลยีไร้สาย และทำงานโดยพลังงานแบตเตอรี่ ทำให้เกิดความสะดวกในการเคลื่อนย้าย
      .๒) แป้นพิมพ์ที่ออกแบบตามหลักการยศาสตร์ (ergonomics keyboard)
เป็นแป้นพิมพ์ที่มีการออกแบบโดยคำนึงถึงความเสี่ยงกับการได้รับบาดเจ็บของผู้ใช้จากการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
       ๑.๓) แป้นพิมพ์พกพา (portable keyboard) เป็นแป้นพิมพ์ที่ออกแบบสำหรับเครื่องพีดีเอ มีทั้งแบบพับและแบบที่ทำจากยางซึ่งสามารถม้วนเก็บได้ ทำให้ใช้งานได้สะดวก
      .๔) แป้นพิมพ์เสมือน (virtual keyboard) เป็นแป้นพิมพ์ที่ออกแบบสำหรับใช้ร่วมกับเครื่องพีดีเอ ซึ่งใช้เลเซอร์ในการจำลองภาพให้เสมือนแป้นพิมพ์จริง

การทำงานขั้นพื้นฐานของคอมพิวเตอร์

      คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ สร้างขึ้นเพื่อใช้แก้ปัญหาต่างๆทั้งในรูปแบบที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์ ซึ่งปฎิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรมที่ตั้งไว้สำหรับการทำงานของคอมพิวเตอร์จะมีขึ้นตอนการทำงานพื้นฐาน ๔ ขั้นตอน ดังนี้

    ขั้นที่ ๑ รับข้อมูล (input) เป็นการนำข้อมูลหรือคำสั่งเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยผ่านอุปกรณ์รับข้อมูลต่างๆเช่น การพิมพ์ข้อความเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้แป้นพิมพ์ การบันทึกเสียงโดยผ่านไมโครโฟน เป็นต้น
    ขั้นที่ ๒ ประมวลผลข้อมูล (process) เป็นการนำข้อมูลมาประมวลผลตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมเพื่อให้ได้ผลลัพธ์หรือสารสนเทศ เช่น การนำข้อมูลที่รับเข้ามาหาผลรวม เปรียบเทียบคำนวณเกรดเฉลี่ย เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์สำหรับประมวลที่สำคัญ คือ หน่วยประมวลผลกลาง
    ขั้นที่ ๓ จัดเก็บข้อมูล (storage) เป็นการจัดเก็บข้อมูลชั่วคราวในขณะที่มีการประมวลผลแรม รวมถึงจัดเก็บข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลลงในอุปกรณ์เก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสถ์ (hard disk) แฟลชไดร์ฟ (flash drive) เป็นต้น
    ขั้นที่ ๔ แสดงผลข้อมูล (output) เป็นการนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลมาแสดงผลลัพธ์ในรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจ กล่าวคือ อยู่ในรูปแบบของข้อความ ตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ เสียง โดยผ่านอุปกรณ์แสดงผลต่างๆเช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
      
     จากขั้นตอนการทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ทั้ง ๔ ขั้นตอน จะมีการทำงานประสานกัน โดยเริ่มจากการรับข้อมูลและคำสั่งเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ จากนั้นข้อมูลและคำสั่งซึ่งอยู่ในรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจจะถูกแปลงให้อยู่ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์เข้าใจและส่งไปจัดเก็บข้อมูลไว้ชั่วคราว จากนั้นเมื่อมีคำสั่งให้ประมวลผล ข้อมูลที่ถูกจัดเก็บชั่วคราวจะถูกส่งไปประมวลผล เป็นผลลัพธ์หรือสารสนเทศ ซึ่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศจะถูกส่งไปแสดงผลลัพธ์ตามที่ผู้ใช้ต้องการ โดยผลลัพธ์จากการประมวลผลจะถูกแปลงให้อยู่ในรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจได้ และหากต้องการเก็บผลลัพธ์ไว้ใช้ในภายหลัง ผลลัพธ์จะถูกนำไปจัดเก็บ สำหรับการเรียกใช้ได้อย่างถาวร การทำงานทั้ง ๔ ขั้นตอนดังกล่าว เรียกว่า วงจรการทำงานขั้นพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ (IPOS cycle)